วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

1. การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม?
ถ้าเป็นจงบอกองค์ประกอบของระบบการผลิตน้ำตาลทรายตามระบบ I P Oมาโดยระเอียด
อย่างน้อย 5 องค์ประกอบ


Input

1. การปลูกอ้อย = ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก

2. เตรียมท่อนพันธ์ = พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้

3. การลงมือปลูก = 1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝนการปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย

4. การใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช = ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก   ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
5. การตัดอ้อยและขนส่งอ้อยสู่โรงงาน = เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน

P (Process)
1. การสกัดน้ำอ้อย ( Juice Extraction ) : อ้อยจะถูกลำเลียงจากสะพานลำเลียงอ้อยเข้าสู่เชรดเดอร์ เพื่อทำการฉีกอ้อยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผ่านเข้าไปในชุดลูกหีบ ( 5ชุด ) เพื่อทำการสกัดน้ำอ้อย ส่วนกากอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ในหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไอน้ำและผลิตไฟฟ้า ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล
2. การทำใสน้ำอ้อย ( Juice Clarification ) :น้ำอ้อยจากการสกัดทั้งหมดจะข้าสู่กระบวนการทำใส เพื่อทำการแยกเอาสิ่งสกปรกต่างๆออก โดยการให้ความร้อนและผสมปูนขาวให้ตกตะกอนในถังพักใส (Clarifier)จะได้น้ำอ้อยใส ( Clarified Juice )
3. การระเหย ( Evaporation ) : น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะเข้าสู่ชุดหม้อต้ม ( Multiple Evaporator ) เพื่อระเหยเอาน้ำออก ( ประมาณ 60 – 65 % )จะได้น้ำเชื่อม ( Syrup) ที่มีความข้น ( 60 – 65 บริกซ์)
4. การทำให้ตกผลึก ( Crystallization ) : น้ำเชื่อมจากการต้มจะเข้าสู่หม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ ( Vaccum Pan ) 1. เพื่อระเหยน้ำออก จนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว จะเกิดผลึกขึ้นมา โดยผลึกน้ำตาลและน้ำเลี้ยงผลึกที่เกิดขึ้น เรียกว่า แมสสิควิท(Massecuite ) ส่วนน้ำเลี้ยงผลึก เรียกว่า Mother Liquor
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล ( Centrifugaling) : แมสสิควิทจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากน้ำเลี้ยงผลึก โดยใช้หม้อปั่น ( Centrifugals)ได้เป็นน้ำตาลทรายดิบ ส่วนน้ำเลี้ยงผลึกที่แยกออกจากน้ำตาล เรียกว่า โมลาส ( MOLASSES)หรือกากน้ำตาล
O (Output)
1. ได้น้ำตาลตามที่เราต้องการและได้กากน้ำตาลเพื่อไปทำอาหารสัตว์
2. บรรจุใส่บรรจุภัณฑ์
3. ส่งออกเพื่อรอการจัดจำหน่าย

Retrieved from
http://sugarcane2836.blogspot.com/p/blog-page_06.html
http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html

เฉลยคำตอบ ครั้งที่ 2

ปัจจัยนำเข้า
- โรงงานน้ำตาล
- เครื่องจักร
- วัตถุดิบ
- เเรงงาน
- เงินทุน

กระบวนการ

- การสกัดน้ำอ้อย
- การทำความสะอาดน้ำอ้อย
- การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
- การเคี่ยวให้เป็นผลึกเเละกาก
- การปั่นเเยกผลึกน้ำตาล
- การอบ
- การบรรจุถุง

ผลลัพธ์
- น้ำตาลทราย
- กากน้ำตาล
- ชานอ้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น